วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ผลวิจัยของน้ำมันมะพร้าว

           ม.เกษตรศาสตร์  เผยผลงานวิจัยดีเด่นที่เข้ารับรางวัลในงานประชุมทางวิชาการประจำปี   คือกรรมวิธี
กำจัดกลิ่นน้ำมันมะพร้าวสด  ส่วนครูใหญ่  รร.สาธิตเกษตรฯ  คิดค้นแบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น  บกพร่องทางการเรียนรู้และออทิซึม  ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับนักเรียนไทย
         เมื่อวันที่  12  มีนาคม  ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จัดแถลงข่าวงานประชุมทางวิชาการประจำปี   2552   ครั้งที่  47  ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่  17-20  มีนาคมนี้  ณ   อาคารสารสนเทศ  50  ปี  โดยในปีนี้มีผลงานวิจัยดีเด่นที่ผ่านการพิจารณาจำนวน  5  รางวัล  ดังนี้  1.เรื่องเกษตรอินทรีย์ไทย : การวิเคราะห์บริบทและสาระเชิงนโยบาย  2.การพัฒนาเครื่องมือวัดศักยภาพแรงดูดน้ำในดิน  3.กรรมวิธีการกำจัดกลิ่นน้ำมันมะพร้าวสด  4.การพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีภาวะออทิซึม  สมาธิสั้น  และบกพร่องทางการเรียนรู้  และ  5.คุณค่าของทำเนียบนักเขียนและรายชื่อวรรณคดีสยามของพระสารสาสน์  พลขันธ์ต่อการศึกษาวรรณคดีไทย  ทั้งนี้  นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจะเข้ารับเกียรติบัตรในวันที่  17  มี.ค.นี้

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การป้องกันและบำบัดรักษาโรค

การป้องกันและบำบัดรักษาโรค
โดยใช้ "น้ำมันมะพร้าว"
khjuk
   น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เนเจอร์มายด์       มะพร้าว
         การวิจัยและการเฝ้าสังเกตทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า กรดไขมันชนิด medium-chain ที่เราสามารถพบเห็นได้ในน้ำมันมะพร้าวนั้น อาจจะช่วยป้องกันและรักษาโรคได้มากมายหลายประเภท น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยคุณได้ดังนี้  
  • ป้องกันโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง การสะสมของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • ช่วยลดน้ำหนักที่เป็นส่วนเกินของร่างกาย
  • ป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยลดอาการ หรือความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ป้องกันโรคเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบๆฟัน และปัญหาฟันผุ
  • ป้องกันโรคกระดูกเปราะและหักง่ายอันเนื่องมาจากขาดแคลเซียมและแร่อื่นๆ
  • ลดอาการของภาวะตับอ่อนอักเสบ
  • ลดความรุนแรงของภาวะลำไส้ไม่ดูดซึมอาหาร การเกิดเนื้อเยื่อเส้นใยที่ถุงน้ำดี
  • บรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับถุงน้ำดี
  • ลดการอักเสบเรื้อรัง
  • ฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคความผิดปกติเกี่ยวกับเม็ดเลือดขาว ไข้หวัดใหญ่ โรคตับอักเสบซี โรคหัด โรคเริม และการเจ็บป่วยอื่นๆ
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ อาการปวดในหู การติดเชื้อที่ลำคอ ฟันผุ อาหารเป็นพิษ การติดเชื้อบริเวณท่อปัสสาวะ เป็นต้น
  • ฆ่าเชื้อราและยีสต์ที่ก่อให้เกิดโรค Candida โรคกลาก โรคเชื้อราตามง่ามเท้า และโรคติดเชื้ออื่นๆ
  • ป้องกันปัญหาแก่ก่อนวัย และโรคที่เกี่ยวกับการเสื่อมสภาพต่างๆ
  • บรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • ป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อนกวาง โรคที่ผิวหนังมีอาการอักเสบ เปื่อย และพุพอง ซึ่งเรียกว่า Eczema รวมไปถึงโรคการอักเสบที่ผิวหนังซึ่งเรียกว่า Dermatitis
  • ลดปัญหาผิวหนังแห้งแตก และลอกเป็นสะเก็ด
  • ป้องกันผลกระทบร้ายแรงซึ่งเกิดจากรังสี UV ของดวงอาทิตย์ เช่น รอยเหี่ยวย่น ผิวเปราะบาง และจุดด่างดำที่บ่งบอกถึงอายุ
  • ควบคุมรังแค

น้ำมันมะพร้าว

คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าว
          น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใดๆเจือปน โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีเจือปนอยู่ในน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่นๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดีเด่นที่ไม่มีในน้ำมันพืชอื่นใดในโลก ดังต่อไปนี้
เป็นกรดไขมันอิ่มตัว
        น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว ประมาณ 92% ธาตุคาร์บอน (C) จับกันด้วยพันธะ (bond) เดี่ยว ไม่เปิดโอกาสให้ไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) แทรก ดังนั้น น้ำมันมะพร้าว “อิ่มตัว” ส่วนที่เหลือ (8%) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ที่ C บางตัว จับกันด้วยพันธะคู่ เปิดโอกาสให้ H2 และ O2 แทรกจึง “ไม่อิ่มตัว” ดูสูตรโครงสร้างของน้ำมัน ได้ดังภาพ
โครงสร้างน้ำมันมะพร้าว
สูตรโครงสร้างของน้ำมันอิ่มตัว (บน) เปรียบเทียบกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (กลาง) และน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (ล่าง)
        การเติมออกซิเจน (Oxidation) เป็นการะบวนการที่เกิดขึ้นตลอกเวลา ก่อให้เกิดความเสื่อมของโมเลกุล กล่าวคือ เกอดอนุมูลอิสระขึ้นมาจากผลของการเติมออกซิเจน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า “อนุมูลอิสระ” เป็นตัวการของการเกิดโรคแห่งความเสื่อมมากมาย
        การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปถูกกับอุณหภูมิสูง เช่น ในการทอดอาหารในน้ำมันท่วม จึงเกิดเป็นสารตัวใหม่ชื่อว่า “ไขมันทรานส์ (Trans fats)” ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนรูปร่างไป และเกิดผลเสียต่อเซลล์ เช่น ทำให้เยื่อบุเซลล์บุบสลาย ทำให้เชื้อโรคหรือสารพิษเข้าไปในเซลล์ได้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลง DNA ของเซลล์ นอกจากนั้น ยังเกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วนในทางอุตสาหกรรม โดยต้องใช้ความดันและสารแคตาลิสต์เข้าช่วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนเป็นน้ำมันอิ่มตัว เพื่อจะได้ไม่เกิดการหืน (เพราะถูกเติมออกซิเจน) และทำให้น้ำมันอยู่ในรูปที่แข็งตัว ทำให้จับต้องผลิตภัณฑ์อาหารได้สะดวกไม่เหนียวเหนอะหนะ
เป็นกรดไขมันขนาดกลาง
        น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบส่วยใหญ่ (62.5%) เป็นกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-Chain Fatty Acids – MCFAs) ร่างกายตอบสนองไขมันขนาดต่างๆแตกต่างกัน ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในด้านการแพทย์และโชนาการ การเป็นกรดไขมันขนาดกลางมีข้อได้เปรียบ คือ
       เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็วน้ำมันมะพร้าวถูกดูดซึมและเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วเมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ เข้าไปในกระแสเลือด แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่เกอดเป็นไขมันสะสมในร่างกาย
       เพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งอัตราเมตาบอลิสซึม (Metabolism) จากการเพิ่มประสิทธิภาพของต่อมธัยรอยด์ ผลของความร้อนที่เกิดขึ้น (Thermogenic Effect) เกิดขึ้นเป็นเวลานาน (กว่า 24 ชม.) จึงได้พลังงานมากขึ้นและมีอัตราเผาผลาญที่เร็วขึ้น นอกจากตัวมันเองจะถูกเผาผลาญในอัตราที่เร็วแล้ว ยังช่วยเผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปพร้อมกัน ทำให้ไม่ไปสะสมเป็นไขมัน อีกทั้งยังไปเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้แต่เดิม ทำให้ร่างกายผอมลง
มีสารฆ่าเชื้อโรค
       น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (Lauric Acid; C=12) อยู่สูง (48-53%) เมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ชื่อโมโนลอรินที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค Enig (1999) ได้รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ โปรโตซัว และแม้กระทั่งเชื้อไวรัส ผลงานวิจัยของ Dayrit (2000) พบว่า กรดลอริกและโมโนลอรินสามารถช่วยลดปริมาณของเชื้อไวรัส (HIV) ในคนไข้โรคเอดส์ได้ อย่างไรก็ตาม โมโนลอรินก็ไม่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด จะฆ่าได้ก็เฉพาะเชื้อโรคที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่เป็นไขมัน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ โรคเริม คางทูม โรคซาร์ และโรคเอดส์ การที่โมโนลอรินไม่ฆ่าจุลินทรีย์ทุกชนิดก็เป็นข้อดี เพราะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในกระเพาะจะไม่ถูกทำลาย
       นอกจากกรดลอริกแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดไขมันขนาดกลางอีก 2 ตัว คือ กรดคาปริก (Capric Acid; C-10, 7%) และกรดคาปริลลิก (Capryllic Acid; C-8, 8%) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน และต่างก็ช่วยเสริมกรดลอริกในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคแก่ร่างกาย หรือฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้เมื่อปรากฏตัวขึ้น
มีสารแอนตีออกซิแดนต์
       น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ (Antioxidant) หลายประเภททีมีประสิทธิภาพสูงและในปริมาณมาก สารเหล่านี้ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน (Oxidation) ที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพ เพราะสูญเสียอิเล็คตรอนในวงแหวนรอบนอก กลายเป็น “โมเลกุลเกเร” เที่ยวไปโจมตีโมเลกุลอื่นๆ โดยไปดึงอีเล็คตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงตัวหนึ่ง และโมเลกุลนี้ก็ไปดึงอิเล็คตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงอื่นๆต่อไป เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้เซลล์ผิดปกติ เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด ผิวหนังเหี่ยวย่น เปลี่ยนสารพันธุกรรมในนิวเคลียส ทำให้เกิดการกลายพันธุ์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกายไม่ต่ำกว่า 60 โรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน ภูมิแพ้ และชราภาพ
       อนุมูลอิสระเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม และในอาหาร เครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ และโดยเฉพาะในน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะถูกเติมออกซิเจน (Oxidized) ได้โดยง่ายเพราะมีพันธะคู่ (Double Bond) ในโมเลกุลตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างทางก่อนถูกนำไปบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ไปลดสารแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทีทำให้เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ

มะพร้าวแฝด

มะพร้าวแฝด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก มะพร้าวทะเล)
มะพร้าวแฝด
ผลมะพร้าวแฝด
ผลมะพร้าวแฝด
มะพร้าวทะเล, ตาลทะเล , มะพร้าวตูดนิโกร หรือ มะพร้าวแฝด มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Coco de mer แปลว่า "มะพร้าวทะเล" สาเหตุที่ถูกขนานอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครเห็นพบเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์แน่ ๆ และอาจจะเป็นผลไม้แห่งความอมตะที่อีฟ ภรรยาอาดัม ถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากยิ่งกว่าเพชรพลอย และแน่นอนผลไม้พิสดารนี้ก็จะถูกนำไปถวายให้แก่คนที่สำคัญที่สุดในแผ่นดิน นั่นคือกษัตริย์หรือสุลต่าน ไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโรค

[แก้] ประวัติ

กษัตริย์ในมาลดีฟออกกฎว่า ผู้ใดพบเห็นมะพร้าวทะเล แล้วไม่นำไปถวายพระองค์จะถูกลงอาญาถึงขั้นประหารชีวิต มะพร้าวทะเลจะพบมากที่สุดในทะเลตามหมู่เกาะมัลดีฟ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกชื่อมะพร้าวทะเลนี้ว่า มะพร้าวมัลดีฟ เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบในทะเลแถวอารเบีย ศรีลังกา และอินเดียใต้ เกาะสุมาตรา และชายฝั่งแหลมมลายูอีกด้วย แต่เนื่องจากเจอแถวหมู่เกาะมัลดีฟมากกว่าที่อื่น จึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นภาษาละตินอีกว่า Lodoicoa maldivica
ในอดีตราชินีแห่งโปรตุเกสเคยสั่งให้นำมะพร้าวทะเลไปถวายพระองค์บ่อยครั้ง แม้แต่กษัตริย์รูดอล์ฟก็ยังเคยทรงจ่ายทองจำนวน 4000 ฟลอรีน (ฟลอรีนละ 3.88 รวมเป็นทองหนัก 15,522 กรัม หรือประมาณ 9.4 ล้านบาท) เพื่อซื้อมะพร้าวทะเลเพียงใบเดียวจากครอบครัวของกัปตันวอลเฟิร์ท เฮิอร์มันส์เซน (Wolfert Hermanszen) ชาวดัทช์ ซึ่งกัปตันคนนี้ได้รับราชทานลูกมะพร้าวทะเลนั้นจาก สุลต่านฮาโญโกรวาตี (Sultan Hanyokrowati ทรงมี พระนามเดิมว่า มัสโจลัง
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล



ลักษณะทั่วไป
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น


รายชื่อพันธุ์มะพร้าว

  • มะพร้าวไฟ

  • มะพร้าวน้ำหอม

  • มะพร้าวทะเล

  • มะพร้าวซอ

  • มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย



  • ประโยชน์

    มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
    • ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายใน เรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้
    • น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
    • เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
    • กากที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
    • ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า 'สลัดเจ้าสัว' (millionaire's salad)
    • ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
    • น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
    • กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
    • ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
    • จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
    • จาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่ยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
    • น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวใช้ถ่ายพยาธิได้
    • เปลือกหุ้มรากมะพร้าวใช้รักษาโรคคอตีบได้
    • น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนังได้




    สถิติการผลิตมะพร้าว
    สถิติการผลิตมะพร้าว 10 อันดับแรกของโลก (หน่วย:เมตริกตัน) [2]
    อันดับประเทศปริมาณ
    1Flag of Indonesia.svg อินโดนีเซีย16,300,000.00
    2Flag of the Philippines.svg ฟิลิปปินส์14,796,600.00
    3Flag of India.svg อินเดีย9,500,000.00
    4Flag of Brazil.svg บราซิล3,033,830.00
    5Flag of Sri Lanka.svg ศรีลังกา1,950,000.00
    6Flag of Thailand.svg ไทย1,500,000.00
    7Flag of Mexico.svg เม็กซิโก950,000.00
    8Flag of Vietnam.svg เวียดนาม940,000.00
    9Flag of Papua New Guinea.svg ปาปัวนิวกินี650,000.00
    10Flag of Malaysia.svg มาเลเซีย642,000.00